พระพิราพ วัดบางกร่าง

พระพิราพแบบองค์ลอยตัวของวัดบางกร่าง มีทั้งแบบปิดทองฝั่งคริสตัล และแบบงานเพ้นท์สี ฝั่งคริสตัล สนใจติดต่อ
วัดบางกร่าง ต.บางกร่าง อ.เมืองนนทบุรี จ.นนทบุรี
โทรศัพท์ 087-579-8414
พระพิราพ (อสูรเทพบุตร) มีลักษณะคือ หน้ากางคางออก เรียกว่าหน้าจาวตาล สีม่วงแก่ หรือสีน้ำรัก หรือสีทอง ปากแสยะ ตาจระเข้ เขี้ยวทู่หรือเขี้ยวตัด หัวโล้น สวมกะบังหน้า ตอนทรงเครื่องสวมมงกุฎยอดเดินหน กายสีม่วงแก่ 1 พักตร์ 2 กร มีกายเป็นวงทักขิณาวัฎ
พระพิราพ เป็นครูสูงสุดทั้งฝ่ายนาฏศิลป์และดุริยางค์ศิลป์ โดยเชื่อกันว่า พระองค์นั้น เป็นภาคหนึ่งของพระอิศวร ซึ่งในคติดั่งเดิมเรียกพระองค์ว่าพระไภรวะ หรือไภราวะ หรือพระไภราพ เมื่อนาฏดุริยางค์ศิลป์ของไทยเรานับเอาศาสตร์แขนงนี้มาจากอินเดีย คติ การนับถือพระอิศวรนารายณ์ทวยเทพทั้งหลายรวมไปถึงพระไภรวะจึงติดตามมาด้วย แต่เมื่อเข้ามาในไทยเราแล้วมีการเรียกนามพระองค์เพี้ยนไปจากเดิมเป็นพระพิรา พ คติการนับถือพระพิราพกับการแสดงนาฏศิลป์และดุริยางค์ศิลป์ ปรากฏหลักฐานมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และมีการบันทึกหลักฐานเป็นที่แน่ชัดในราวรัชกาลที่ 2
พระพิราพถือเป็นครูยักษ์ เป็นเทพอสูร และเป็นมหาเทพ (ศิวะอวตาร) แต่เนื่องจากนามของพระองค์คล้ายคลึงกับตัวละครตัวหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่มมีลักษณะเป็นยักษ์เช่นกันคือยักษ์วิราธ และนิยมเรียกเพี้ยนเป็นยักษ์พิราพ ทำให้บรมครูสูงสุดกับตัวละครตัวนี้เกิดความสับสนปนเปกัน
ในปัจจุบันทางกรมศิลปากรได้มีการชำระประวัติของพระพิราพ โดยนักวิชาการ และมีการเผยแพร่สร้างความเข้าใจให้แก่บุคคลทั่วไป แต่ก็ยังไม่เป็นที่แพร่หลาย ในปัจจุบันนี้คติการนับถือพระพิราพแพร่หลายมากขึ้น เนื่องจากครูบาอาจารย์หลายสำนักนิยมนำพระองค์มาสร้างเป็นวัตถุมงคล โดยมีพระอาจารย์ศิริพงศ์ ครุพันธกิจ เป็นผู้เผยแพร่เป็นท่านแรก อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นประโยชน์แก่การศึกษา ผู้บูชาจึงควรศึกษาประวัติของท่านให้ถ่องแท้ด้วย
ข้อมูลจากจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เครื่องสังเวยพระพิราพสำหรับบูชาพระพิราพวันแรก
1 ไข่ไก่ดิบ 5 ฟอง
2 ข้าวตอก 1 ถ้วยชา
3 น้ำผึ้ง    1 ถ้วยชา
4 ดอกไม้,พวงมาลัย รวมกันให้ได้ 3 สีขึ้นไปคำสวดบูชาองค์พระพิราพ ที่คัดจาก สมุดพระตำรา พิธีไหว้ครู และ พิธีครอบโขน ละคร ของ พระยานัฏการุรักษ์ (ทองดี สุวรรณภารต)๏ อิมัง พุทธัง องค์พระพิราพัง ขอเอหิจงมา
ธัมมัง องค์พระพิราพัง ขอเอหิจงมา
สังฆัง องค์พระพิราพัง ขอเอหิจงมา
พุทโธ สิทธิฤทธิ ธัมโม สิทธิฤทธิ สังโฆ สิทธิฤทธิ
สุขะ สุขะ ไชยะ ไชยะ ลาภะ ลาภะ
สัพพะธัมมานัง ประสิทธิเม ประสิทธิเต
พุทโธ สวัสดีมีไชย ธัมโม สวัสดีมีไชย สังโฆ สวัสดีมีไชย
อิมัง ปทีปัง สุรังคันธัง อธิฏฐามิ ฯ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

คุณอาจจะใช้ป้ายกำกับและคุณสมบัติHTML: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>