ประวัติอดีตเจ้าอาวาส วัดบางกร่าง

 

             อดีดเจ้าอาวาสวัดบางกร่าง

หลวงปู่กลั่นพระปลัดหยด

ประวัติพระสังฆาธิการเพื่อขอรับพระราชทานสมณศักดิ์

ชื่อ                           พระปลัดหยด ฉายา อธิมุตโต อายุ ๘๖ พรรษา ๖๖ น.ธ.เอก

วัดบางกร่าง ตำบลบางกร่าง อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี

ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดบางกร่าง และรองเจ้าคณะเจ้าตำบล บางกร่าง

สถานะเดิม           ชื่อ หยด นามสกุล อิ่มแจ้ง เกิดวันอาทิตย์ ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๘ ปีระกา

ตรงกับวันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๔ บิดาชื่อ นายแย้ม มารดาชื่อ นางพลอย

บ้านเลขที่ ๒๒ หมู่ที่ ๓ ตำบลบางกร่าง อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี

บรรพชา               

อุปสมบท              วันอังคาร ขึ้น ๑๑ เดือน ๖ ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๔

วัดบางกร่าง ตำบล บางกร่าง อำเภอ เมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี

พระอุปัชฌาย์       พระครูนนทศิริมหาปัญญา วัดชัยพฤกษมาลา ตำบลตลิ่งชัน

อำเภอตลิ่งชัน กรุงเทพฯ

พระกรรมวาจาจารย์           พระอธิการอินทร์ วัดบางขนุน อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี

พระอธิการสนธ์ วัดปราสาท ตำบลบางกร่าง อำเภอเมืองนนทบุรี

จังหวัดนนทบุรี

พระอนุสาวนาจารย์            พระอธิการไสว วัดบางกร่าง อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี

วิทยฐานะ             พ.ศ. ๒๔๗๘       สำเร็จประถมปีที่ ๖ โรงเรียนภิรมย์ศิริ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี

พ.ศ. ๒๔๘๙       สอบได้ น.ธ.เอก สำนักเรียนวัดชัยพฤกษมาลา อำเภอตลิ่งชัน กรุงเทพฯ

ความรูพิเศษ      เคยเรียนภาษาบาลีที่สำนักเรียนวัดชัยพฤกษมาลาเป็นเวลา ๓ ปี

ความชำนาญการ ความสามารถในการก่อสร้างพอใช้ได้

งานปกครอง        พ.ศ. ๒๔๘๓       เป็นเลขานุการคณะกรรมการสงฆ์อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี

พ.ศ. ๒๕๑๓        เป็นเจ้าอาวาสวัดบางกร่าง อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี

เป็นพระกรรมวาจาจารย์

พ.ศ. ๒๕๑๖        เป็นรองเจ้าคณะตำบลบางกร่าง

พ.ศ. ๒๕๓๐        มีพระภิกษุ ๓๔ รูป สามเณร ๔ รูป

พ.ศ. ๒๕๓๑        มีพระภิกษุ ๒๖ รูป สามเณร ๓ รูป

พ.ศ. ๒๕๓๒       มีพระภิกษุ ๓๑ รูป สามเณร ๑ รูป

พ.ศ. ๒๕๓๓       มีพระภิกษุ ๓๒รูป สามเณร ๒ รูป

พ.ศ. ๒๕๓๔       มีพระภิกษุ ๒๘ รูป สามเณร ๑ รูป

พ.ศ. ๒๕๓๕       มีพระภิกษุ ๒๓ รูป สามเณร –  รูป

พ.ศ. ๒๕๓๖        มีพระภิกษุ ๒๕ รูป สามเณร ๓ รูป

พ.ศ. ๒๕๓๗       มีพระภิกษุ ๒๕ รูป สามเณร ๑ รูป

พ.ศ. ๒๕๓๘       มีพระภิกษุ ๒๓ รูป สามเณร ๑ รูป

พ.ศ. ๒๕๓๙        มีพระภิกษุ ๒๗ รูป สามเณร ๑ รูป

พ.ศ. ๒๕๔๐        มีพระภิกษุ ๒๙ รูป สามเณร –  รูป

มีการทำอุโบสถสังฆกรรมตลอดปี

มีการทำวัตรสวดมนต์ เช้า-เย็น ตลอดปี

มีระเบียบปกครองวัดเป็นไปตามพระธรรมวินัย

พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ แบะกฎมหาเถรสมาคม

มีการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรม

งานการศึกษา       พ.ศ. ๒๕๓๘       น.ธ.ตรี สมัครสอบ ๑ รูป สอบได้ – รูป สอบตก ๑ รูป

นวกะภูมิ จำนวน ๙ รูป     สอบได้ ๘ รูป สอบตก ๑ รูป

พ.ศ. ๒๕๓๙        น.ธ.ตรี สมัครสอบ ๓ รูป  สอบได้ ๑ รูป สอบตก ๒ รูป

น.ธ.โท สมัครสอบ ๑ รูป  สอบได้ – รูป สอบตก ๑ รูป

นวกะภูมิ จำนวน ๑๑ รูป  สอบได้ ๔ รูป สอบตก ๗ รูป

พ.ศ. ๒๕๔๐        น.ธ.ตรี สมัครสอบ ๓ รูป  สอบได้ ๑ รูป สอบตก ๒ รูป

น.ธ.โท สมัครสอบ ๑ รูป  สอบได้ – รูป สอบตก ๑ รูป

นวกะภูมิ จำนวน ๑๐ รูป สอบได้ ๔ รูป สอบตก ๖ รูป

พ.ศ. ๒๔๘๕       เป็นผู้ทรงพระปาฎิโมกข์

พ.ศ. ๒๔๘๘       เป็นครูสอนนักธรรมประจำสำนักเรียนวัดชัยพฤกษมาลา

พ.ศ. ๒๔๙๕        เป็นกรรมการตรวจข้อสอบธรรมสนามหลวง

เป็นกรรมการดำเนินการสอบธรรมสนามหลวง

ของสำนักเรียนวัดชัยพฤกษมาลา

พ.ศ. ๒๕๑๓       เป็นครูสอนนักธรรมประจำสำนักเรียนวัดบางกร่าง

พ.ศ. ๒๕๒๕       ดำเนินการก่อสร้างฌาปนสถาน ด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก

มีเตาเผาศพหนึ่งเตา ปล่องควันก่อด้วยอิฐโชว์เซาะร่อง ด้านหน้า

เป็นมณฑปสำหรับตั้งศพ พื้นเป็นหินขัด หลังคามณฑปประดับด้วย

ลวดลายปูนปั้นทาสียอดประดับด้วยฉัตร กว้าง ๖ เมตร

ยาว ๑๕ เมตร เป็นจำนวนเงิน ๗๕๔,๓๐๐ บาท

(เจ็ดแสนห้าหมื่นสี่พันสามร้อยบาท) รูปที่ ๓

พ.ศ. ๒๕๒๖       ดำเนินการเทพื้นลานรอบฌาปนสถานด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก

กว้าง ๑๗ เมตร ยาว ๓๕ เมตร หนา ๑๐ เซนติเมตร

เป็นจำนวนเงิน ๕๐,๐๐๐ บาท (ห้าหมื่นบาท) รูปที่๔

พ.ศ. ๒๔๒๗       ดำเนินการก่อสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก

กว้าง ๔ เมตร ยาว ๑๒ เมตร ข้ามคลองด้านทิศเหนือของวัดเชื่อม

กับถนนที่ตัดเข้าวัดเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๔ เป็นจำนวนเงิน

๒๐๐,๐๐๐ บาท (สองแสนบาท) รูปที่ ๕

พ.ศ. ๒๕๒๙       ดำเนินการก่อสร้างศาลาบำเพ็ญกุศลด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก

และโครงหลังคาประกอบด้วยไม้เต็งไทยและไม้แดง มุงหลังคา

ด้วยกระเบื้องลอนคู่รูปแบบทรงไทย กว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๕ เมตร

เป็นจำนวนเงิน ๒๖๔,๔๖๐  บาท

(สองแสนหกหมื่นสีพันสี่ร้อยหกสิบ) รูปที่ ๖

พ.ศ. ๒๕๓๑        ดำเนินการหล่อพระพุทธรูปหน้าตักกว้าง ๓๑ นิ้ว ด้วยทองเหลือง

หนึ่งองค์ เพื่อประดิษฐานบนศาลาการเปรียญ แทนพระพุทธรูป

องค์ที่ถูกโจรกรรมไป เป็นจำนวนเงิน ๑๒,๐๐๐ บาท

(หนึ่งหมื่นสองพันบาท)

พ.ศ. ๒๕๓๒       ดำเนินการก่อสร้างศาลาเอนกประสงค์ด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กและ

ไม้ กั้นฝาด้วยลูกกรงเหล็กดัด หลังคามุงกระเบื้องลอนเล็ก

พื้นคอนกรีตขัดมัน ใช้เป็นที่ประชุมคณะกรรมการวัดและจัดประชุม

ทั่วไป ปัจจุบันได้รับงบประมาณจากทางราชการปรับปรุงปูพื้นใหม่

ด้วยกระเบื้อง เปลี่ยนประตูทางเข้าเป็นประตูเหล็กม้วน และใช้เป็นที่

ประชุมขององค์การบริหารส่วนตำบลเป็นครั้งคราว ใช้เป็นที่ทำการ

ของกลุ่มสตรีตำบลบางกร่างชั่วคราว กว้าง ๖ เมตร ยาว ๒๕ เมตร

เป็นจำนวนเงิน ๒๘๙,๗๖๓ บาท(สองแสนแปดหมื่นเก้าพันเจ็ดร้อย

หกสิบบาท) รูปที่ ๗

พ.ศ. ๒๕๓๓       ดำเนินการก่อสร้างกำแพงแก้วรอบอุโบสถพร้อมซุ้มประตู ๕ ซุ้ม

ซุ้มพระปรางค์ ๔ ซุ้ม แต่ละซุ้มมีบานแถลงและใบเทศประดับกระจก

ทาสีทองล่องชาดตัวกำแพงยาวรวม ๑๐๐ เมตร เป็นคอนกรีตเสริม

เหล็กสองชั้นด้านในมีช่องเก็บอัฐิ และเทพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก

ภายในกำแพงแก้วรอบอุโบสถ หนา ๑๐ เซนติเมตร จำนวนพื้นที่

๔๕๐ ตารางเมตร เป็นจำนวนเงิน ๑,๓๖๗,๗๔๑ บาท

(หนึ่งล้านสามแสนหกหมื่นเจ็ดพันเจ็ดร้อยสี่สิบเอ็ดบาท)

รูปที่ ๘-๙-๑๐

พ.ศ. ๒๕๓๔       ดำเนินการก่อสร้างห้องส้วมแถว ๑๑ ห้อง ด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก

พื้นและฝาผนังปูกระเบื้อง กว้าง ๑.๕ เมตร ยาว ๑.๕ เมตร เป็นจำนวนเงิน ๑๒๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนสองหมื่นบาท) รูปที่ ๑๑

ดำเนินการหล่อระฆังแทนของเก่าที่แตกชำรุดด้วยเนื้อลงหินโดยประกอบพิธีหล่อที่วัด เป็นจำนวนเงิน ๔๐,๐๐๐ บาท (สี่หมื่นบาท)

พ.ศ. ๒๕๓๖        ดำเนินการปรับพื้นที่ซึ่มเดิมเป็นสวนของวัดโดยการถมดินสำหรับ

เป็นที่สร้างหอสวดมนต์และกุฏิ ซึ่งจะจัดเป็นเขตสังฆาวาสหรือเขต

ที่พักอาศัยของพระภิกษุแลพสามเณรต่อไปเป็นบริเวณกว้าง ๓๗ ม.

ยาว ๙๔ เมตร เป็นจำนวนเงิน ๒๔๔,๐๐๐ (สองแสนสี่หมื่นสีพัน)

ดำเนินการก่อสร้างหอสวดมนต์ด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กและไม้ที่ได้

จากหอสวดมนต์หลังเดิม กว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๒๑ เมตร สูง ๒ ชั้น

ชั้นล่างปูพื้นกระเบื้อง ฝาเป็นฝาเฟี้ยมไม้สักโบราณของเดิม ใช้เป็นที่

สวดมนต์และปฏิบัติธรรมด้านหลังเป็นห้องเก็บเอกสารและที่ทำงาน

ของเจ้าอาวาสหลังคาทรงไทยมุงกระเบื้องเกล็ดปลา เป็นจำนวนเงิน

๒,๑๔๔,๐๐๐ บาท (สองล้านหนึ่งแสนสี่หมื่นสี่พันบาท) รูปที่ ๑๒

พ.ศ. ๒๕๓๗       ดำเนินการก่อสร้างกุฏิคอนกรีตเสริมเหล็กทรงไทย กว้าง ๔ เมตร

ยาว ๕ เมตรจำนวน ๑๖ หลัง สูง ๒ ชั้น โดยชั้นล่างเป็นห้องน้ำ

ห้องส้วม ชั้นบนเป็นห้องพักสำหรับอยู่ได้หนึ่งรูปมีชานเดินได้รอบ

พื้นชั้นบนปูกระเบื้อง หลังคามุงด้วยกระเบื้องลอนเล็กเป็นจำนวนเงิน

๒,๔๐๐,๐๐๐ บาท (สองล้านสี่แสนบาท) รูปที่ ๑๓

พ.ศ. ๒๕๓๗       และกุฏิไม้สักทรงไทย กว้าง ๖ เมตร ยาว ๘ เมตร ใต้ถุนสูงมีเรือนมุข

ทรงไทยอยู่ด้านหน้ากว้าง ๒.๖๕ เมตร ยาว ๓ เมตร สำหรับทอด

บันไดลง มุขหลังคาด้วยกระเบื้องลอนเล็กสีแดงจำนวน ๑ หลัง

เป็นจำนวนเงิน ๑,๒๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านสองแสนบาท) รูปที่ ๑๔

ดำเนินการก่อสร้างเขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็กริมลำคลองด้านทิศเหนือ

และตะวันออกของวัดเพื่อป้องกันการพังทลายของดิน ยาว ๑๒๕

เมตร เป็นจำนวนเงิน ๖๐๐,๐๐๐ บาท (หกแสนบาท) รูปที่ ๑๕

พ.ศ. ๒๕๓๘       ดำเนินการก่อสร้างกุฏิไม้สักทรงไทย โดยใช้ไม้สักทองของเก่าที่

พอใช้ได้มาใช้ร่วมด้วย กว้าง ๖ เมตร ยาว ๘ เมตร ใต้ถุนสูงมุงหลังคาด้วยกระเบื้องเกล็ดปลา จำนวน ๒ หลัง เป็นจำนวนเงิน ๑,๖๐๐,๐๐๐

(หนึ่งล้านหกแสนบาท) รูปที่ ๑๖ – ๑๗

ดำเนินการก่อสร้างเขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็กเพิ่มเติมจากของเดิมอีกยาว ๙๓ เมตร เป็นจำนวนเงิน ๒๗๗,๐๐๐ บาท

(สองแสนเจ็ดหมื่นเจ็ดพันบาท) รูปที่ ๑๘

ดำเนินการก่อสร้างกำแพงกั้นเขตวัดให้เป็นสัดส่วนด้วยคอนกรีตก่ออิฐฉาบปูน สูง ๒ เมตร ยาว ๒๕๐ เมตร เป็นจำนวนเงิน ๕๐๐,๐๐๐

(ห้าแสนบาท) รูปที่ ๑๙

ตามสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากที่ส่งมาด้วย

พ.ศ.๒๕๔๑         บริจาคค่าอาหารกลางวันสำหรับนักเรียน โรงเรียนวัดบางกร่าง เป็นเงิน ๓,๑๕๐ บาท

(สามพันหนึ่งร้อยห้าสิบบาท) ตามสำเนาประกาศเกียรติคุณบัตรที่ส่งมาด้วย

รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น ๒๔,๖๔๐ บาท(สองหมื่นสี่พันหกร้อยห้าสิบบาท)

งานเผยแผ่            มีการทำพิธีวิสาขะบูชา ผู้ร่วมพิธีมีภิกษุ ๒๓ รูป สามเณร – รูป

ประชาชนประมาณ ๑๐๐ คน

มีการทำพิธีมาฆบูชา ผู้ร่วมพิธีมีภิกษุ ๒๔ รูป สามเณร – รูป

ประชาชนประมาณ ๑๐๐ คน

มีการทำพิธีอาสาฬหบูชา ผู้ร่วมพิธีมีภิกษุ ๒๔ รูป สามเณร – รูป

ประชาชนประมาณ ๑๐๐ คน

มีการอบรมภิกษุสามเณรทุกวันพระ ๘ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ ก่อนทำวัตรเย็น

มีการแสดงพระธรรมเทศนาเป็นประจำทุกวันพระ ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ

มีผู้มารักษาศีลอุโบสถฟังธรรมตลอดปี จำนวนประมาณ ๓๐ คน

ผู้มาทำบุญเป็นประจำอยู่ที่วัดประมาณ ๓๐๐ คน

 

งานสาธารณูปการ

การก่อสร้าง

พ.ศ.๒๕๑๔         ดำเนินการก่อสร้างศาลาท่าน้ำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก มีทางเดินกลาง มีที่นั่งพักสองข้าง พื้นที่นั่ง

และเสาเป็นหินขัดหลังคามุงด้วยกระเบื้องเกล็ดปลา ช่อฟ้า ใบระกา หน้าบรรณลงรักปิดทอง

ประดับด้วยกระจกสีกว้าง ๕ เมตร ยาว ๕ เมตร เป็นจำนวนเงิน ๓๖,๐๐๐ บาท

(สามหมื่นหกพันบาท)

พ.ศ.๒๕๑๕         ดำเนินการก่อสร้างซุ้มป้ายชื่อวัดด้วยไม้ เป็นจำนวนเงิน ๕,๐๐๐ บาท

ดำเนินการก่อสร้างส้วมสาธารณะก่ออิฐฉาบปูน กว้าง ๒ เมตร ยาว ๖ เมตร แบ่งเป็น ๔ ห้อง

เป็นจำนวนเงิน ๕,๐๐๐ บาท

พ.ศ.๒๕๑๖          ดำเนินการก่อสร้างกุฏิทรงไทย ๒ หลังด้วยไม้ โดยใช้วัสดุของเดิมและซื้อเพิ่มเติมใหม่

กว้าง ๗ เมตร ยาว ๙ เมตร เป็นจำนวนเงิน ๒๕,๐๐๐ บาท

พ.ศ.๒๕๑๘         ดำเนินการก่อสร้างสระน้ำคอนกรีตเสริมเหล็กทรงกลมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑๐ เมตร

เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้สำหรับพระภิกษุสามเณรและประชาชนที่มาจัดงานในวัดและประชาชนที่อยู่

ใกล้เคียงวัด (ปัจจุบันกำลังปรับปรุงใหม่เพื่อป้องกันสิ่งปฏิกูลและสิ่งมีชีวิตไหลลงสระน้ำ โดย

การทำขอบสระให้สูงขึ้นกว่าเดิม) เป็นจำนวนเงิน ๔๗,๐๐๐ บาท (สี่หมื่นเจ็ดพันบาท)

พ.ศ.๒๕๒๔        ทำถนนเข้าวัด กว้าง ๖ เมตร ยาว ๓๐๐ เมตร ด้วยลูกรัง เป็นจำนวนเงิน ๑๔๕,๐๐๐ บาท

พ.ศ.๒๕๒๕        ดำเนินการก่อสร้างฌาปนสถาน(เมรุ) ด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นจำนวนเงิน ๗๕๔,๓๐๐ บาท

พ.ศ.๒๕๒๖         ดำเนินการเทพื้นลานรอบฌาปนสถานด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง  เมตร  ยาว    เมตร

หนา ๑๐ เซนติเมตร เป็นจำนวนเงิน ๕๐,๐๐๐ บาท

พ.ศ.๒๕๒๗        ดำเนินการก่อสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง ๔ เมตร ยาว ๗ เมตร เป็นจำนวนเงิน

๒๐๐,๐๐๐ บาท

พ.ศ.๒๕๒๘        ดำเนินการก่อสร้างกุฏิแถวหกห้องด้วยไม้ กว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๕ เมตร เป็นจำนวนเงิน

๒๐,๐๐๐ บาท

พ.ศ.๒๕๒๙         ดำเนินการก่อสร้างศาลาบำเพ็ญกุศลด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กและไม้ กว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๕ เมตร

เป็นจำนวนเงิน ๒๖๔,๔๖๐ บาท

พ.ศ.๒๕๓๐         ดำเนินการก่อสร้างบันไดลาดขึ้นศาลาการเปรียญด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง ๒ เมตร

ยาว ๑๓ เมตร เป็นจำนวนเงิน ๓๐,๐๐๐ บาท

พ.ศ.๒๕๓๑         ดำเนินการหล่อพระพุทธรูปหน้าตักกว้าง ๓๑ นิ้ว ด้วยทองเหลือง หนึ่งองค์ เป็นจำนวนเงิน

๑๒,๐๐๐ บาท

พ.ศ.๒๕๓๒        ดำเนินการก่อสร้างศาลาเอนกประสงค์ด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กและไม้ กว้าง ๖ เมตร

ยาว ๒๕ เมตร เป็นจำนวนเงิน ๒๘๙,๗๖๓ บาท

พ.ศ.๒๕๓๓        ดำเนินการก่อสร้างกำแพงแก้วรอบอุโบสถพร้อมซุ้มประตู ๕ ซุ้ม ยาว ๑๐๘ เมตร และเทพื้น

คอนกรีตเสริมเหล็กภายในกำแพงแก้วรอบอุโบสถหนา ๑๐ เซนติเมตร จำนวนพื้นที่ ๔๕๐

ตารางเมตร เป็นจำนวนเงิน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท

พ.ศ.๒๕๓๔        ดำเนินการก่อสร้างห้องส้วมแถว ๑๑ ห้อง ด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กพื้นและฝาผนังปูกระเบื้อง

กว้างยาวห้องละ ๑.๕,๑.๕ เมตร เป็นจำนวนเงิน ๑๒๐,๐๐๐ บาท

ดำเนินการหล่อระฆังแทนของเก่าที่แตกชำรุด เป็นจำนวนเงิน ๔๐,๐๐๐ บาท

พ.ศ.๒๕๓๖         ดำเนินการปรับพื้นที่ซึ่งเดิมเป็นสวนของวัดโดยการถมดินสำหรับเป็นที่สร้างหอสวดมนต์และ

กุฏิ ซึ่งจะจัดเป็นเขตสังฆาวาสหรือที่พักอาศัยของภิกษุและสามเณรต่อไป เป็นบริเวณกว้าง

๓๕ เมตร ยาว ๑๐๐ เมตร เป็นจำนวนเงิน ๒๔๔,๐๐๐ บาท

ดำเนินการก่อสร้างหอสวดมนต์ด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กและไม้ กว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๒๑ เมตร

สูง ๒ ชั้น เป็นจำนวนเงิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท

พ.ศ.๒๕๓๗        ดำเนินการก่อสร้างกุฏิคอนกรีตเสริมเหล็กทรงไทย กว้าง ๓ เมตร ยาว ๔ เมตร จำนวน ๑๖ หลัง

เป็นจำนวนเงิน ๒,๔๐๐,๐๐๐ บาท และกุฏิไม้สักทรงไทย กว้าง ๘ เมตร ยาว ๙ เมตร จำนวน

๑ หลัง เป็นจำนวนเงิน ๑,๒๐๐,๐๐๐ บาท

ดำเนินการก่อสร้างเขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็กริมลำคลองด้านทิศเหนือและตะวันออกของวัดเพื่อ

ป้องกันการพังทลายของดิน ยาว ๑๒๕ เมตร เป็นจำนวนเงิน ๖๐๐,๐๐๐ บาท

พ.ศ.๒๕๓๘        ดำเนินการก่อสร้างกุฏิไม้สักทรงไทย โดยใช้ไม้สักของเก่าที่พอใช้ได้มาใช้ร่วมด้วย กว้าง ๘ เมตร

ยาว ๙ เมตร จำนวน ๒ หลัง เป็นจำนวนเงิน ๑,๖๐๐,๐๐๐ บาท

ดำเนินการก่อสร้างเขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็กเพิ่มเติมจากของเดิมอีก ยาว ๙๓ เมตร เป็นจำนวน

เงิน ๒๗๗,๐๐๐ บาท

พ.ศ.๒๕๓๙         ดำเนินการก่อสร้างถังเก็บน้ำฝนด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กเส้นผ่าศูนย์กลาง ๘๐ เซนติเมตร

สูง ๓ เมตร จำนวน ๗ ถัง เป็นจำนวนเงิน ๑๒,๐๐๐ บาท และทำรางน้ำฝนด้วยสเตนเลสติดตั้งที่

หอสวดมนต์และกุฏิทรงไทย ยาว ๗๐ เมตร เป็นจำนวนเงิน ๒๑,๐๐๐ บาท

ดำเนินการก่อสร้างกำแพงกั้นเขตวัดให้เป็นสัดเป็นส่วนด้วยคอนกรีตก่ออิฐฉาบปูน สูง ๒ เมตร

ยาว ๒๕๐ เมตร เป็นจำนวนเงิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท

พ.ศ.๒๕๔๐         ดำเนินการเทพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กบริเวณลานวัดด้านทิศตะวันออกและทิศเหนือของอุโบสถ

หนา ๑๕ เซนติเมตร จำนวนพื้นที่ ๑,๐๐๐ ตารางเมตร และปรับพื้นที่ถมดินจัดสวนปลูกหญ้าญี่ปุ่น

และปลูกไม้ร่มเงาเช่น ประดู่ ในพื้นที่เหลือจากเทคอนกรีต รวมเป็นจำนวนเงิน ๖๑๕,๕๑๖ บาท

ดำเนินการก่อสร้างกำแพงกั้นเขตวัดเพิ่มเติม ด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กก่ออิฐสองชั้นฉาบปูนด้าน

นอกติดลายธรรมจักรด้านบนตั้งเสมาธรรมจักร ยาว ๖๐ เมตร เป็นจำนวนเงิน ๔๕๐,๐๐๐ บาท

การปฏิสังขรณ์

พ.ศ.๒๕๓๐         ดำเนินการซ่อมแซมพัทธสีมา ปูกระเบื้องพื้นด้านหน้าอุโบสถและทาสีอุโบสถใหม่ทั้งหลัง

เป็นจำนวนเงิน ๒๙,๖๐๐ บาท

พ.ศ.๒๕๓๑         ดำเนินการซ่อมแซมเสาศาลาการเปรียญในส่วนที่อยู่ใต้พื้นดินซึ่งผุกร่อนจนขาดเปลี่ยนเป็นเสา

คอนกรีตเสริมเหล็กและลาดพื้นด้วยคอนกรีตทั้งหลัง เป็นจำนวนเงิน ๑๔๘,๙๓๕ บาท

พ.ศ.๒๕๓๒        ดำเนินการซ่อมแซมกันสาดรอบศาลาการเปรียญทำรางน้ำต่อเติมด้านหน้าและด้านหลัง

เป็นจำนวนเงิน ๑๘๐,๐๐๐ บาท

พ.ศ.๒๕๓๓        ดำเนินการซ่อมแซมภายในอุโบสถ คือทำฐานชุกชีด้วยหินขัดและทรายล้าง ปูกระเบื้องพื้นและ

ทำหินขัดที่ฝาผนังสูงจากพื้น ๑ เมตร เป็นจำนวนเงิน ๕๐,๐๐๐ บาท

พ.ศ.๒๕๓๔        ดำเนินการซ่อมแซมหอระฆัง เป็นจำนวนเงิน ๔๐,๐๐๐ บาท

พ.ศ.๒๕๓๕        ดำเนินการซ่อมแซมเตาเผาศพและปล่องเมรุซึ่งแตกร้าว เป็นจำนวนเงิน ๓๐,๐๐๐ บาท

พ.ศ.๒๕๓๗        ดำเนินการซ่อมแซมและเปลี่ยนประตูและช่องลม ศาลาการเปรียญใหม่ เป็นประตูเหล็กม้วน ๓

ประตู ประตูเหล็กดัด ๒ ประตู และใส่ช่องลมเหล็กดัดใหม่ทั้งหมด เป็นจำนวนเงิน ๔๐,๐๐๐ บาท

งานสาธารณสงเคราะห์

พ.ศ.๒๕๒๔        สนับสนุนให้ทำถนนบางกรวย-ไทรน้อย เข้าวัดบางกร่างกว้าง ๖ เมตร ยาว ๓๐๐ เมตร ด้วยดิน

ลูกรังและหินคลุก เป็นจำนวนเงิน ๑๔๕,๐๐๐ บาท

พ.ศ.๒๕๓๖         สนับสนุนให้ทำถนนจากวัดบางกร่างด้านทิศตะวันออกถึงแม่น้ำบางกอกน้อย กว้าง ๘ เมตร

ยาว ๓.๕ กิโลเมตร ด้วยเศษอิฐเศษปูน สิ้นค่าก่อสร้างเป็นจำนวนเงิน ๑,๕๐๐,๐๐๐ บาท

พ.ศ.๒๕๓๗        สนับสนุนทำถนนจากวัดบางกร่างด้านทิศตะวันตกถึงแม่น้ำบางกอกน้อยและพาดทับแนวถนน

โครงการถนนเส้นวงแหวนสายใน กว้าง ๘ เมตร ยาว ๓.๕ กิโลเมตรด้วยดินลูกรังและหินคลุก

บดอัด เป็นจำนวนเงิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท ปัจจุบันถนนบางระยะได้รับงบประมาณจากทางราชการ

ทำเป็นถนนคอนกรีตแล้วเป็นระยะทาง ๒.๕ กิโลเมตร และได้สร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กกว้าง ๑๕๐ เมตร ยาว ๒๐ เมตร จากถนนลงสู่ศาลาท่าน้ำทรงไทยทำด้วยไม้สักและไม้แดงมีที่นั่งพักสองข้าง กว้าง ๘ เมตร ยาว ๙ เมตร มีบันไดลงน้ำใช้เป็นท่าขึ้นลงเรือสาธารณะ สิ้นค่าก่อสร้างเป็นจำนวนเงิน ๖๕๐,๐๐๐ บาท

พ.ศ.๒๕๔๐         ร่วมกับการประปานครหลวงวางท่อส่งน้ำขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒๐ เซนติเมตร ผ่านใต้พื้นดิน

ของวัดเพื่อบริการประชาชนด้านทิศตะวันออก ทิศใต้ และทิศตะวันตกเพื่อได้มีน้ำสะอาดใช้

ตลอดปี

รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น ๔,๐๐๐,๐๐๐ บาท

งานในหน้าที่        ได้รับแต่งตั้งเป็นรองเจ้าคณะตำบลบางกร่าง

งานตรวจการคณะสงฆ์

พ.ศ.

งานจัดการประชุม

พ.ศ.

งานพิเศษ              ดำเนินการให้ประชาชนรวมกันจัดตั้งกลุ่มพัฒนาชุมชนตำบลบางกร่างหมู่บ้านที่ ๒,๓,๔ โดยมี

วัตถุประสงค์มุ่งพัฒนาให้เกิดความเจริญทั้งทางด้านวัตถุและจิตใจ โดยมีวัดเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา

เช่น ใช้เป็นสถานที่ในการพบปะหารือหรือจัดประชุมใหญ่เป็นครั้งเป็นคราวในสามเดือนจัดประชุมกันไม่

ต่ำกว่า ๑ ครั้ง

สมณศักดิ์

พ.ศ.๒๕๐๐๐        เป็นฐานานุกรมตำแหน่งพระสมุห์ ของพระธรรมทานจารย์ วัดชัยพฤกษมาลา

พ.ศ.๒๕๐๒         เป็นฐานานุกรมตำแหน่งพระปลัด ของพระธรรมทานจารย์ วัดชัยพฤกษมาลา

Comments are closed.